วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554
เรื่องของสมอง
เอาแบบสั้นๆนะครับ ส่วนประกอบของสมองมากกว่าร้อยละ 60 เป็นไขมันที่หุ้มเส้นใยประสาท ทำให้เพิ่มความเร็วในการขนส่งกระแสประสาทในสมอง และช่วยเพิ่มความจำด้วย สมองมีหน้าที่เกี่ยวกับ การจดจำการคิด และความรู้สึกต่างๆ เรื่องราวของสมองมีมากมายไม่รู้จบนะครับ ท่านสามารถหาอ่านได้จากแหล่งความรู้ต่างๆ ได้ตามความสะดวกนะครับ
เนื้องอกในสมองที่ครอบครัวผมและลูกสาวเป็นนี้เกิดขึ้นที่สมองส่วนหนึ่งที่อยู่ในสมองส่วนท้าย เรียกว่า ซีรีเบลลัม (cerebellum) ครับ ซึ่งสมองส่วนนี้ทำหน้าที่ควบคุมระบบกล้ามเนื้อให้สัมพันธ์กันและควบคุมการทรงตัวของร่างกาย อาการของผู้ป่วยนี้เห็นได้ชัดเจน ซึ่งจากตัวลูกสาว และจากตัวผมรวมทั้งญาติคนอื่นๆด้วยครับว่าพอเริ่มมีเนื้องอกในสมองเกิดขึ้นก็มักจะมีการเดินเซๆ แล้วครับ อาการอื่นๆที่เกิดร่วมก็มีเช่น ตาลาย เห็นภาพซ้อน หูอื้อ อาจจะปวดกระบอกตาร่วมด้วย อาเจียน เป็นต้นครับ
ยังถือว่าโชคดีครับที่เนื้องอกที่เกิดขึ้นนี้อยู่ในตำแหน่งที่สามารถผ่าตัดได้ง่าย ผมเคยได้ยินมาว่าบางคนเป็นเนื้องอกในสมองส่วนที่อยู่กลางๆ ซึ่งบางครั้งไม่สามารถผ่าตัดได้และถึงกับเสียชีวิตได้เลยครับ
พบกันคราวหน้าครับ
พาลูกสาวไปตรวจ MRI สมองและช่องท้องมาครับ
สวัสดีครับ
เมื่อวานนี้ผมพาลูกสาวไปตรวจ MRI ซึ่งเป็นเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่ง (ใช้หลักการของสนามแม่เหล็ก) มาครับ สาเหตุก็เนื่องจากว่าลูกสาวมีอาการปวดหัวมานานเป็นเดือนๆ แล้ว ช่วงแรกๆ ก็นานๆหลายวันจะปวดทีนึงครับ แต่เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาปวดทุกวันต่อเนื่องครับ และบางครั้งก็มีอาเจียนร่วมด้วย แล้วก็นอนทั้งวัน (นอนเฉพาะตอนที่ไม่ได้เรียนหรือเลิกเรียนแล้วนะครับ หรือจะเรียกว่านอนทุกครั้งเมื่อมีโอกาสก็ได้ครับ) และบวกกับที่รู้แล้วว่าลูกมียีน VHL ที่ผิดปกติด้วย ก็เลยไม่แน่ใจว่าจะมีเนื้องอกในสมองหรือเปล่า เมื่อวานพอมีโอกาสเป็นวันหยุดก็เลยพาลูกไปโรงพยาบาลและขอตรวจ MRI ด้วยเลยครับ
ซึ่งผลที่ออกมาก็ชัดเจนครับ มีเนื้องอกในสมองขนาดประมาณสองเซนติเมตรกว่าๆ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ปวดหัวก็คือ เจ้าก้อนเนื้องอกนี้ไปขัดขวาง-บัง การไหลของน้ำไขสันหลังในสมองครับ คุณหมอบอกว่าควรได้รับการผ่าตัดด่วน ตอนนี้ก็กำลังติดต่อโรงพยาบาลและคุณหมอที่จะทำการผ่าตัดอยู่ครับ เย็นนี้ก็คงพาลูกไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลธนบุรีและคิดว่าคงจะต้องเข้ารับการผ่าสมองภายในสองสามวันนี้ครับ ซึ่งลูกก็คงต้องขาดเรียนไปเป็นเดือนเลยทีเดียว แต่เรื่องสุขภาพก็ควรมาก่อนอยู่แล้วใช่ไหมครับ เพราะถ้าสภาพยังเป็นอย่างนี้ ยังไงก็ไปเรียนไม่ไหวอยู่ดี โชคไม่ดีตรงที่ตอนนี้ก็ใกล้สอบกลางภาคแล้วด้วยครับ แต่ไม่เป็นไร ยังไงก็ต้องสู้ และปรับตัวให้ได้ครับ
สำหรับค่าตรวจ MRI ซึ่งคราวนี้ทำทั้งสมองและช่องท้องส่วนบนและล่าง รวมแล้ว 27,000 บาทครับ ทำที่ศูนย์รัชวิภา MRI ครับ อยู่บนถนนรัชดา ใกล้ๆกับแยกถนนรัชดาภิเษกตัดกับถนนวิภาวดีรังสิตครับ (อันนี้เขียนไว้เผื่อท่านใดอยากทราบเรื่องราคานะครับ) แต่ถ้าทำเอ็กซเรย์สมองอย่างเดียวราคาอยู่ที่ 11,000 บาทครับ เป็นค่าเอ็กซเรย์ 8,000 และค่าฉีดสีอีก 3,000 บาท ใช้เวลาทำไม่นานครับ ซึ่งกรณีของลูกสาวที่ไปทำเมื่อวานใช้เวลาประมาณเกือบสองชั่วโมง (รวมทั้งรายงานผลการตรวจด้วย) ใครสนใจลองเข้าไปดูข้อมูลทางเวบไซต์ได้นะครับ ที่ http://www.rachvipamri.com/ ครับ ผมเอามาลงให้เพื่อเป็นข้อมูลนะครับ ส่วนตัวแล้วผมไม่มีผลประโยชน์อะไรกับศูนย์ครับ ที่จอดรถสะดวกสบายครับ สถานที่กว้างขวาง มีอินเทอร์เนตให้เล่นตอนนั่งรอด้วยครับ ลองดูนะครับ
ตอนนี้ก็วิ่งวุ่นกันทั้งครอบครัว พี่สาวก็กำลังจะผ่าสมองในอีกสองวันข้างหน้า ลูกสาวก็กำลังจะต้องผ่าในอีกสองสามวันข้างหน้าเหมือนกัน ส่วนพี่ชายอีกคนที่อยู่เพชรบูรณ์ก็กำลังจับตาดูอยู่อย่างเข้มข้นว่าจะต้องผ่าในเร็ววันนี้หรือไม่... เป็นครอบครัวที่ไม่ธรรมดาเลยนะครับ สำหรับท่านที่เชื่อเรื่องกรรมก็จะบอกว่าพี่น้องครอบครัวนี้คงทำกรรมร่วมกันมา ซึ่งไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามเราก็ต้องตั้งสติให้ดีและต่อสู้ผ่านเหตุการณ์พวกนี้ไปให้ได้ ใช่ไหมครับ การยอมแพ้นั้นมันง่าย ง่ายเกินไปจนเราไม่รู้จะยอมไปทำไม...
ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพที่แข็งแรง และสนุกกับทุกวันเช่นเคยครับ พบกันใหม่คราวหน้าครับ สวัสดีครับ...
เมื่อวานนี้ผมพาลูกสาวไปตรวจ MRI ซึ่งเป็นเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่ง (ใช้หลักการของสนามแม่เหล็ก) มาครับ สาเหตุก็เนื่องจากว่าลูกสาวมีอาการปวดหัวมานานเป็นเดือนๆ แล้ว ช่วงแรกๆ ก็นานๆหลายวันจะปวดทีนึงครับ แต่เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมาปวดทุกวันต่อเนื่องครับ และบางครั้งก็มีอาเจียนร่วมด้วย แล้วก็นอนทั้งวัน (นอนเฉพาะตอนที่ไม่ได้เรียนหรือเลิกเรียนแล้วนะครับ หรือจะเรียกว่านอนทุกครั้งเมื่อมีโอกาสก็ได้ครับ) และบวกกับที่รู้แล้วว่าลูกมียีน VHL ที่ผิดปกติด้วย ก็เลยไม่แน่ใจว่าจะมีเนื้องอกในสมองหรือเปล่า เมื่อวานพอมีโอกาสเป็นวันหยุดก็เลยพาลูกไปโรงพยาบาลและขอตรวจ MRI ด้วยเลยครับ
ซึ่งผลที่ออกมาก็ชัดเจนครับ มีเนื้องอกในสมองขนาดประมาณสองเซนติเมตรกว่าๆ ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ปวดหัวก็คือ เจ้าก้อนเนื้องอกนี้ไปขัดขวาง-บัง การไหลของน้ำไขสันหลังในสมองครับ คุณหมอบอกว่าควรได้รับการผ่าตัดด่วน ตอนนี้ก็กำลังติดต่อโรงพยาบาลและคุณหมอที่จะทำการผ่าตัดอยู่ครับ เย็นนี้ก็คงพาลูกไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลธนบุรีและคิดว่าคงจะต้องเข้ารับการผ่าสมองภายในสองสามวันนี้ครับ ซึ่งลูกก็คงต้องขาดเรียนไปเป็นเดือนเลยทีเดียว แต่เรื่องสุขภาพก็ควรมาก่อนอยู่แล้วใช่ไหมครับ เพราะถ้าสภาพยังเป็นอย่างนี้ ยังไงก็ไปเรียนไม่ไหวอยู่ดี โชคไม่ดีตรงที่ตอนนี้ก็ใกล้สอบกลางภาคแล้วด้วยครับ แต่ไม่เป็นไร ยังไงก็ต้องสู้ และปรับตัวให้ได้ครับ
สำหรับค่าตรวจ MRI ซึ่งคราวนี้ทำทั้งสมองและช่องท้องส่วนบนและล่าง รวมแล้ว 27,000 บาทครับ ทำที่ศูนย์รัชวิภา MRI ครับ อยู่บนถนนรัชดา ใกล้ๆกับแยกถนนรัชดาภิเษกตัดกับถนนวิภาวดีรังสิตครับ (อันนี้เขียนไว้เผื่อท่านใดอยากทราบเรื่องราคานะครับ) แต่ถ้าทำเอ็กซเรย์สมองอย่างเดียวราคาอยู่ที่ 11,000 บาทครับ เป็นค่าเอ็กซเรย์ 8,000 และค่าฉีดสีอีก 3,000 บาท ใช้เวลาทำไม่นานครับ ซึ่งกรณีของลูกสาวที่ไปทำเมื่อวานใช้เวลาประมาณเกือบสองชั่วโมง (รวมทั้งรายงานผลการตรวจด้วย) ใครสนใจลองเข้าไปดูข้อมูลทางเวบไซต์ได้นะครับ ที่ http://www.rachvipamri.com/ ครับ ผมเอามาลงให้เพื่อเป็นข้อมูลนะครับ ส่วนตัวแล้วผมไม่มีผลประโยชน์อะไรกับศูนย์ครับ ที่จอดรถสะดวกสบายครับ สถานที่กว้างขวาง มีอินเทอร์เนตให้เล่นตอนนั่งรอด้วยครับ ลองดูนะครับ
ตอนนี้ก็วิ่งวุ่นกันทั้งครอบครัว พี่สาวก็กำลังจะผ่าสมองในอีกสองวันข้างหน้า ลูกสาวก็กำลังจะต้องผ่าในอีกสองสามวันข้างหน้าเหมือนกัน ส่วนพี่ชายอีกคนที่อยู่เพชรบูรณ์ก็กำลังจับตาดูอยู่อย่างเข้มข้นว่าจะต้องผ่าในเร็ววันนี้หรือไม่... เป็นครอบครัวที่ไม่ธรรมดาเลยนะครับ สำหรับท่านที่เชื่อเรื่องกรรมก็จะบอกว่าพี่น้องครอบครัวนี้คงทำกรรมร่วมกันมา ซึ่งไม่ว่าจะอย่างไรก็ตามเราก็ต้องตั้งสติให้ดีและต่อสู้ผ่านเหตุการณ์พวกนี้ไปให้ได้ ใช่ไหมครับ การยอมแพ้นั้นมันง่าย ง่ายเกินไปจนเราไม่รู้จะยอมไปทำไม...
ขอให้ทุกท่านมีสุขภาพที่แข็งแรง และสนุกกับทุกวันเช่นเคยครับ พบกันใหม่คราวหน้าครับ สวัสดีครับ...
วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554
เอาความรู้เกี่ยวกับเนื้องอกในสมองมาฝาก
สวัสดีครับ เช้าวันเสาร์วันหยุดของหลายๆคนหลังจากที่ทำงานกันมาทั้งอาทิตย์นะครับ หลายๆ คนก็คงยังไม่ยอมลุกจากเตียงนอนอันแสนจะสบายใช่ไหมครับ แต่สำหรับบางคนที่ต้องทำงานในวันเสาร์ด้วยก็คงออกจากบ้านกันไปแล้ว ขอให้ทำงานให้สนุกและสำหรับคนที่ได้พักผ่อนก็ขอให้มีความสุขกับวันหยุดนะครับ สำหรับวันนี้ผมขออนุญาต (อย่างไม่เป็นทางการ) นำบทความที่เขียนโดยแพทย์เกี่ยวกับเนื้องอกในสมองจากเว็บแห่งหนึ่งมาให้อ่านกันครับ ซึ่งผมเห็นว่ามีประโยชน์ และขอแนะนำให้ผู้อ่านที่สนใจลองเข้าไปอ่านดูตามอัธยาศัยนะครับ ที่ http://www.thaibraintumor.com/ ครับ
เกี่ยวกับเนื้องอกในสมองที่คุณหมอศรัณย์ (ซึ่งท่านจะเป็นคนผ่าตัดเนื้องอกในสมองของพี่สาวในวันจันทร์ที่ 29 นี้ด้วย) ได้เขียนไว้ ผมขอยกเอามาสั้นๆ ดังนี้ครับ
- "การรักษาเนื้องอกในสมองมีอยู่ 3 วิธีหลักๆ คือ การผ่าตัด, การฉายรังสี, และการให้ยา ในบางครั้งอาจจะต้องใช้หลายๆ วิธีร่วมกันเพื่อให้ได้ผลที่ดีที่สุด
- การผ่าตัด เป็นวิธีหลักของการรักษาเนื้องอกในสมองส่วนใหญ่ ซึ่งอาจจะเป็นเพียงการเจาะดูด เอาเนื้องอกมาตรวจวินิจฉัย ผ่าตัดเนื้องอกออกบางส่วนหรือผ่าตัดเนื้องอกออกทั้งหมด ถ้าเนื้องอกอยู่ในตำแหน่งที่สามารถทำผ่าตัดออกได้ โดยไม่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วย แพทย์มักจะพิจารณาผ่าตัดเนื้องอกนั้นจนหมด หรือออกให้ได้มากที่สุด เนื่องจากสมองเป็นอวัยวะที่สำคัญ และมีความละเอียดอ่อนมาก จึงต้องอาศัยอุปกรณ์ และเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อเพิ่มความปลอดภัย เช่น ในปัจจุบันมีการทำผ่าตัดโดยจุลศัลยกรรม (Microneurosurgery) ทำให้สามารถมองเห็นจุดเล็กๆ ในสมองส่วนที่อยู่ลึกได้ มีการนำเครื่องนำวิถี (Navigation) มาใช้เพื่อช่วยให้การผ่าตัดสมองมีความแม่นยำมากขึ้น มีการทำผ่าตัดร่วมกับเอกซเรย์แม่เหล็กในห้องผ่าตัด (Intraoperative MRI) เพื่อช่วยให้ผ่าตัดเนื้องอกออกได้มากขึ้น หรือมีการทำผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง (Neuroendoscopic surgery) เพื่อช่วยให้แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก ในบางครั้งเนื้องอกในสมองอาจอยู่ในตำแหน่งที่มีอันตรายต่อการทำผ่าตัด และอาจมีการทำผ่าตัดโดยที่ผู้ป่วยยังคงรู้ตัวไม่สลบระหว่างผ่าตัด เพื่อที่แพทย์จะสามารถหาตรวจหาตำแหน่งการทำงานของสมองไปได้ด้วยระหว่างการผ่าตัด (Awake craniotomy and brain mapping) อนึ่งเทคโนโลยีทางการแพทย์มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา และเป็นที่คาดหมายได้ว่าในอนาคตจะมีอุปกรณ์และเทคนิคใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพื่อช่วยให้การผ่าตัดมีประสิทธิภาพ และความปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีต่างๆ มักจะมีราคาแพง และต้องจัดซื้อหาจากต่างประเทศทำให้เป็นภาระทั้งต่อผู้ป่วย และประเทศชาติ ดังนั้นจึงควรเลือกใช้เทคโนโลยีตามความเหมาะสม
- การฉายรังสี มักจะใช้เป็นการรักษาเพิ่มเติม หลังการผ่าตัดเนื้องอกในสมองบางอย่างที่ไม่สามารถผ่าตัดออกได้หมด และในบางกรณี สามารถใช้เป็นวิธีการรักษาหลัก
การฉายรังสีรักษาเนื้องอกในสมองนั้นในปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างมาก มีการนำเทคนิคการฉายรังสีวิธีใหม่ที่เรียกว่า การฉายรังสีรักษา 3 มิติมาใช้ ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนรูปร่างของลำรังสีได้ ตามรูปร่างของก้อนเนื้องอก ทำให้ได้ปริมาณรังสีรวมสูงสุดอยู่ที่ก้อนเนื้องอกเพียงตำแหน่งเดียว โดยที่สมองส่วนอื่นๆ ได้ปริมาณรังสีน้อยมาก เทคนิคนี้ทำให้สามารถเพิ่มปริมาณรังสีที่ก้อนเนื้องอกได้สูงขึ้นมาก ซึ่งในบางครั้งอาจจะสามารถฉายรังสีเพียงครั้งเดียวเท่านั้น (Radiosurgery) ซึ่งนับเป็นความก้าวหน้าทางรังสีรักษาในการรักษาเนื้องอกในสมองในขณะนี้
- การให้ยา เนื้องอกในสมองชนิดร้ายแรงบางชนิด สมควรได้รับการรักษาโดยการให้ยาเคมีบำบัด และเนื้องอกในสมองของต่อมใต้สมองบางชนิด สามารถรักษาโดยการให้ยาควบคุมการสร้างฮอร์โมน ในปัจจุบันยาเคมีบำบัดบางตัวมีราคาแพงมาก และไม่สามารถเบิกจ่ายได้ในผู้ป่วยที่ใช้สิทธิประกันสังคมหรือบัตรทอง จึงเป็นอุปสรรคทำให้เป็นภาระหนักต่อผู้ป่วย หรือทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถเข้าถึงการรักษาได้"
จะเห็นว่ามีวิธีการรักษาที่ต่างกันหลายวิธีนะครับ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะอาการของโรคเป็นหลัก สำหรับคนที่เป็นโรค VHL แล้ว วีธีการหลักที่ใช้ได้แก่การผ่าตัดครับ ซึ่งเท่าที่ผ่านมาในครอบครัวก็มีความปลอดภัย 100 เปอร์เซนต์ครับ
สำหรับวันนี้ขอให้ทุกคนมีความสุข แล้วพบกันคราวหน้านะครับ สวัสดีครับ...
เกี่ยวกับเนื้องอกในสมองที่คุณหมอศรัณย์ (ซึ่งท่านจะเป็นคนผ่าตัดเนื้องอกในสมองของพี่สาวในวันจันทร์ที่ 29 นี้ด้วย) ได้เขียนไว้ ผมขอยกเอามาสั้นๆ ดังนี้ครับ
- "การรักษาเนื้องอกในสมองมีอยู่ 3 วิธีหลักๆ คือ การผ่าตัด, การฉายรังสี, และการให้ยา ในบางครั้งอาจจะต้องใช้หลายๆ วิธีร่วมกันเพื่อให้ได้ผลที่ดีที่สุด
- การผ่าตัด เป็นวิธีหลักของการรักษาเนื้องอกในสมองส่วนใหญ่ ซึ่งอาจจะเป็นเพียงการเจาะดูด เอาเนื้องอกมาตรวจวินิจฉัย ผ่าตัดเนื้องอกออกบางส่วนหรือผ่าตัดเนื้องอกออกทั้งหมด ถ้าเนื้องอกอยู่ในตำแหน่งที่สามารถทำผ่าตัดออกได้ โดยไม่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วย แพทย์มักจะพิจารณาผ่าตัดเนื้องอกนั้นจนหมด หรือออกให้ได้มากที่สุด เนื่องจากสมองเป็นอวัยวะที่สำคัญ และมีความละเอียดอ่อนมาก จึงต้องอาศัยอุปกรณ์ และเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อเพิ่มความปลอดภัย เช่น ในปัจจุบันมีการทำผ่าตัดโดยจุลศัลยกรรม (Microneurosurgery) ทำให้สามารถมองเห็นจุดเล็กๆ ในสมองส่วนที่อยู่ลึกได้ มีการนำเครื่องนำวิถี (Navigation) มาใช้เพื่อช่วยให้การผ่าตัดสมองมีความแม่นยำมากขึ้น มีการทำผ่าตัดร่วมกับเอกซเรย์แม่เหล็กในห้องผ่าตัด (Intraoperative MRI) เพื่อช่วยให้ผ่าตัดเนื้องอกออกได้มากขึ้น หรือมีการทำผ่าตัดด้วยการส่องกล้อง (Neuroendoscopic surgery) เพื่อช่วยให้แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก ในบางครั้งเนื้องอกในสมองอาจอยู่ในตำแหน่งที่มีอันตรายต่อการทำผ่าตัด และอาจมีการทำผ่าตัดโดยที่ผู้ป่วยยังคงรู้ตัวไม่สลบระหว่างผ่าตัด เพื่อที่แพทย์จะสามารถหาตรวจหาตำแหน่งการทำงานของสมองไปได้ด้วยระหว่างการผ่าตัด (Awake craniotomy and brain mapping) อนึ่งเทคโนโลยีทางการแพทย์มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา และเป็นที่คาดหมายได้ว่าในอนาคตจะมีอุปกรณ์และเทคนิคใหม่ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพื่อช่วยให้การผ่าตัดมีประสิทธิภาพ และความปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีต่างๆ มักจะมีราคาแพง และต้องจัดซื้อหาจากต่างประเทศทำให้เป็นภาระทั้งต่อผู้ป่วย และประเทศชาติ ดังนั้นจึงควรเลือกใช้เทคโนโลยีตามความเหมาะสม
- การฉายรังสี มักจะใช้เป็นการรักษาเพิ่มเติม หลังการผ่าตัดเนื้องอกในสมองบางอย่างที่ไม่สามารถผ่าตัดออกได้หมด และในบางกรณี สามารถใช้เป็นวิธีการรักษาหลัก
การฉายรังสีรักษาเนื้องอกในสมองนั้นในปัจจุบันมีการพัฒนาอย่างมาก มีการนำเทคนิคการฉายรังสีวิธีใหม่ที่เรียกว่า การฉายรังสีรักษา 3 มิติมาใช้ ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนรูปร่างของลำรังสีได้ ตามรูปร่างของก้อนเนื้องอก ทำให้ได้ปริมาณรังสีรวมสูงสุดอยู่ที่ก้อนเนื้องอกเพียงตำแหน่งเดียว โดยที่สมองส่วนอื่นๆ ได้ปริมาณรังสีน้อยมาก เทคนิคนี้ทำให้สามารถเพิ่มปริมาณรังสีที่ก้อนเนื้องอกได้สูงขึ้นมาก ซึ่งในบางครั้งอาจจะสามารถฉายรังสีเพียงครั้งเดียวเท่านั้น (Radiosurgery) ซึ่งนับเป็นความก้าวหน้าทางรังสีรักษาในการรักษาเนื้องอกในสมองในขณะนี้
- การให้ยา เนื้องอกในสมองชนิดร้ายแรงบางชนิด สมควรได้รับการรักษาโดยการให้ยาเคมีบำบัด และเนื้องอกในสมองของต่อมใต้สมองบางชนิด สามารถรักษาโดยการให้ยาควบคุมการสร้างฮอร์โมน ในปัจจุบันยาเคมีบำบัดบางตัวมีราคาแพงมาก และไม่สามารถเบิกจ่ายได้ในผู้ป่วยที่ใช้สิทธิประกันสังคมหรือบัตรทอง จึงเป็นอุปสรรคทำให้เป็นภาระหนักต่อผู้ป่วย หรือทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถเข้าถึงการรักษาได้"
จะเห็นว่ามีวิธีการรักษาที่ต่างกันหลายวิธีนะครับ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะอาการของโรคเป็นหลัก สำหรับคนที่เป็นโรค VHL แล้ว วีธีการหลักที่ใช้ได้แก่การผ่าตัดครับ ซึ่งเท่าที่ผ่านมาในครอบครัวก็มีความปลอดภัย 100 เปอร์เซนต์ครับ
สำหรับวันนี้ขอให้ทุกคนมีความสุข แล้วพบกันคราวหน้านะครับ สวัสดีครับ...
วันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2554
ศัพท์บางคำที่น่ารู้ไว้เกี่ยวกับโรค VHL ครับ
Lesion (เล-ซึน) คือ โครงสร้างของเนื้อเยื่อที่ผิดปกติ เช่น Angioma
Angioma (แอน-จี-โอ-มา) สำหรับคนที่เป็นโรค VHL คือ เนื้องอกที่เกิดจากหลอดเลือดที่เจริญเติบโตอย่างผิดปกติ ซึ่งอาจจะเรียกได้ว่า Hemangiomas ได้
Adrenal glands (แอด-รี-นอล แกลนด์) ต่อมหมวกไต แต่ละคนจะมีอยู่สองอัน โดยแต่ละอันจะอยู่ในตำแหน่งเหนือไตแต่ละข้าง
Kidney ไต ปกติคนเรามีสองข้างครับ การตรวจอัลตราซาวด์จะสามารถบ่งบอกการเกิดของซีสต์หรือเนื้องอกในไตได้ ดังนั้นถ้ามีโอกาสควรไปรับการตรวจตั้งแต่เนิ่นๆนะครับ
Benign (บี-ไน) tumor เนื้องอกที่ไม่ใช่เนื้อร้าย (มะเร็ง) และไม่แพร่กระจายไปสู่อวัยวะส่วนอื่นของร่างกาย
Cerebellum (เซอ-อะ-เบล-อัม) สมองส่วนหลัง ทำหน้าที่ควบคุม-กำกับการการเคลื่อนไหว และการทรงตัว
Computed tomography (CT) scan เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ อาจจะมีการฉีดสีร่วมกับการตรวจด้วย ซึ่งจะใช้ช่วยในการศึกษาเนื้องอก เช่นขนาด และปริมาณของการเกิด
สำหรับวันนี้พอเท่านี้ก่อนนะครับ แล้วพบกันใหม่คราวหน้าครับ และเช่นเคย ขอให้ทุกคนมีสุขภาพแข็งแรง จิตใจเบิกบานตลอดวันและตลอดไปครับ สวัสดีครับ...
วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554
เมื่อตรวจพบว่าตัวเองเป็น VHL ควรทำอย่างไรดี
นับว่าเป็นข่าวที่ไม่ค่อยดีเท่าไหร่ครับถ้าทราบว่าผลตรวจ DNA พบว่าเรามียีน VHL ที่ผิดปกติ เพราะเราทราบดีว่านั่นคือเรามีโอกาสที่จะต้องผ่าเนื้องอกในสมอง โอกาสที่จะต้องรักษาตาด้วยการยิงเลเซอร์ เราอาจจะเป็นเนื้องอกในไต นับอ่อน ต่อมหมวกไต หรือที่อื่นๆ อีกมากมาย ที่สำคัญลูกหลานเรายังมีโอกาสที่จะเป็นเหมือนกับเราอีกด้วยครับ
แล้วจะทำอย่างไรดีครับ?
อย่างแรกเลยคือต้องไม่ตกใจคร้บ... ใช่แล้วครับ อย่าเพิ่งตกใจไป เพราะถึงแม้เราจะมียีน VHL ที่ผิดปกติ แต่อาการต่างๆที่เกี่ยวข้องก็ไม่แน่นอนเสมอไปครับ เราอาจจะไม่ถูกผ่าตัดเลยก็ได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับหลายๆอย่างครับ เอาเป็นว่าเมื่อรู้ว่าเป็นแล้วสิ่งที่ต้องทำต่อไปก็คือเฝ้าระวังและหมั่นสังเกตตัวเองให้ดีครับว่ามีอะไรที่ผิดปกติไปจากเดิมหรือไม่ เช่น ปวดหัว มึน เดินเซ ตาพร่า อาเจียน หรืออะไรอื่นๆ ที่ตัวเราเองจะสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนครับ ที่สำคัญอาการเหล่านั้นจะไม่หายไปง่ายๆ แต่จะเพิ่มมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่รู้ครับ เมื่อเห็นว่ามีอะไรผิดปกติขึ้นกับตัวเองแล้ว สิ่งที่ต้องทำต่อไปก็คือไปหาหมอครับ อย่าได้รอช้า โดยเฉพาะถ้าต้องไปตรวจที่โรงพยาบาลของรัฐเพราะคนไข้เยอะและเราจะต้องรอคิวนานมาก ถ้ารอให้ปวดมากแล้วค่อยไปเราอาจจะทนไม่ได้นะครับ...
อีกอย่างหนึ่งคือควรจะพาลูกหลานไปตรวจหายีนผิดปกติ VHL ด้วยครับ เพราะการทราบว่าเป็นตั้งแต่เนิ่นๆ ย่อมดีกว่า เพราะเราก็จะระวังตัวเมื่อมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นทำให้ได้รับการรักษาทันท่วงทีครับ สำหรับวันนี้ผมคงต้องพอก่อนเพราะรู้สึกเหนื่อยครับ เหนื่อยเพราะว่าร่างกายอาจจะเริ่มอ่อนแอจากการได้รับการผ่าตัดมาหลายครั้ง และอวัยวะภายในไม่ค่อยสมบูรณ์เหมือนเดิมแล้วครับ ที่เล่าให้ฟังก็เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้อ่านครับ ว่าถึงแม้เราจะปลอดภัยจากการรักษาต่างๆในแต่ละครั้ง แต่ผลกระทบระยะยาวก็มีอยู่ครับ
ขอให้มีกำลังใจและสุขภาพที่ดีกันทุกคนครับ สวัสดีครับ...
แล้วจะทำอย่างไรดีครับ?
อย่างแรกเลยคือต้องไม่ตกใจคร้บ... ใช่แล้วครับ อย่าเพิ่งตกใจไป เพราะถึงแม้เราจะมียีน VHL ที่ผิดปกติ แต่อาการต่างๆที่เกี่ยวข้องก็ไม่แน่นอนเสมอไปครับ เราอาจจะไม่ถูกผ่าตัดเลยก็ได้ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับหลายๆอย่างครับ เอาเป็นว่าเมื่อรู้ว่าเป็นแล้วสิ่งที่ต้องทำต่อไปก็คือเฝ้าระวังและหมั่นสังเกตตัวเองให้ดีครับว่ามีอะไรที่ผิดปกติไปจากเดิมหรือไม่ เช่น ปวดหัว มึน เดินเซ ตาพร่า อาเจียน หรืออะไรอื่นๆ ที่ตัวเราเองจะสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนครับ ที่สำคัญอาการเหล่านั้นจะไม่หายไปง่ายๆ แต่จะเพิ่มมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่รู้ครับ เมื่อเห็นว่ามีอะไรผิดปกติขึ้นกับตัวเองแล้ว สิ่งที่ต้องทำต่อไปก็คือไปหาหมอครับ อย่าได้รอช้า โดยเฉพาะถ้าต้องไปตรวจที่โรงพยาบาลของรัฐเพราะคนไข้เยอะและเราจะต้องรอคิวนานมาก ถ้ารอให้ปวดมากแล้วค่อยไปเราอาจจะทนไม่ได้นะครับ...
อีกอย่างหนึ่งคือควรจะพาลูกหลานไปตรวจหายีนผิดปกติ VHL ด้วยครับ เพราะการทราบว่าเป็นตั้งแต่เนิ่นๆ ย่อมดีกว่า เพราะเราก็จะระวังตัวเมื่อมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นทำให้ได้รับการรักษาทันท่วงทีครับ สำหรับวันนี้ผมคงต้องพอก่อนเพราะรู้สึกเหนื่อยครับ เหนื่อยเพราะว่าร่างกายอาจจะเริ่มอ่อนแอจากการได้รับการผ่าตัดมาหลายครั้ง และอวัยวะภายในไม่ค่อยสมบูรณ์เหมือนเดิมแล้วครับ ที่เล่าให้ฟังก็เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้อ่านครับ ว่าถึงแม้เราจะปลอดภัยจากการรักษาต่างๆในแต่ละครั้ง แต่ผลกระทบระยะยาวก็มีอยู่ครับ
ขอให้มีกำลังใจและสุขภาพที่ดีกันทุกคนครับ สวัสดีครับ...
วันศุกร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2554
CT สแกน ตรวจหาความผิดปกติในสมองและทั่วร่างกาย
สำหรับผู้ป่วย VHL แล้ว การทำ CT scan หรือเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ถือว่าเป็นเรื่องปกติมากครับ คุณหมอจะส่งเราเข้าห้องตรวจด้วยเครื่องมือนี้เพื่อดูว่าเรามีเนื้องอกในสมอง ไขสันหลังหรือที่ใดๆในร่างกายหรือไม่ ที่จริงแล้วไม่ใช่แค่ตรวจเนื้องอกอย่างเดียวหรอกครับ ความผิดปกติอื่นๆก็ดูได้เช่นกันครับ
แต่ในบางกรณีจะเห็นว่าเราก็ได้รับการตรวจด้วย MRI หรือตรวจด้วยคลื่นรังสีแม่เหล็กเหมือนกัน อันนี้ผมไม่ทราบเหมือนกันว่ากรณีไหนต้องใช้วีธีอะไร เอาไว้คราวหน้าจะค้นคว้ามาเล่าให้ฟังครับ แต่เท่าที่มีประสบการณ์มา การตรวจด้วย CT scan จะมีราคาถูกว่าการตรวจด้วย MRI มากกว่าครึ่งครับ แต่ผมคงไม่แนะนำว่าให้เราตรวจด้วยวีธีนั้นวิธีนี้ดีกว่าอย่างนั้นแน่ๆครับ อันนั้นเป็นเรื่องที่คุณหมอพิจารณาอยู่แล้ว เราไม่ทราบหรอกครับว่าเราควรจะได้รับการตรวจด้วยวิธีไหน ดังนั้นถ้าคุณหมอสั่งให้ไปตรวจอันไหนก็ต้องทำนะครับ สำหรับวันนี้ผมมีข้อมูลมาเล่าให้ฟังนิดหน่อยเกี่ยวกับการได้รับรังสีจากการตรวจด้วย CT ครับ
ที่เขียนเรื่องการได้รับรังสีจากการตรวจด้วย CT scan นี้ไม่ได้เขียนเพื่อจะให้ท่านกลัวการตรวจด้วยวิธีนี้นะครับ เพราะในความเป็นจริงแล้ว ผลของการได้รับรังสีจะมีอันตรายน้อยมากเมื่อเทียบกับประโยชน์ที่จะได้รับ คือเทียบกันไม่ได้ครับ การไม่ได้รับการตรวจด้วยวิธีนี้เสียอีกที่อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้หากเนื้องอกนั้นๆไม่ได้รับการวินิจฉัย แต่ที่เอามาเขียนก็เพื่อเป็นความรู้และคลายความกังวลของผู้ป่วยครับ สำหรับบางแห่งในอเมริกาหรืออาจจะประเทศอื่นๆบางประเทศ ได้มีการตรวจร่างกายทั้งตัวด้วยวิธี CT scan กันเป็นประจำทุกปีครับ ก็เป็นการตรวจสุขภาพประจำปีนั่นแหละครับ เพียงแต่ว่าบางที่อาจจะใช้วีธีนี้เป็นวิธีการหลักด้วย ซึ่งในบ้านเราเท่าที่ทราบยังไม่เห็นมีทำกันขนาดนั้นนะครับ การตรวจสุขภาพประจำปีในส่วนของผมที่ผ่านมาก็มีการตรวจทั่วๆไป ไม่ถึงกับต้องทำเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์อะไรครับ แต่ก็มีการทำเอ็กซเรย์ทรวงอกเพื่อดูสภาพปอดทุกๆ 2 ปีครับ หรือถ้าอายุ 35 ปีขึ้นไปก็อาจจะต้องตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องร่วมด้วย
โดยสรุปก็คือว่าร่างกายเรามีโอกาสได้รับผลกระทบจากรังสีเนื่องจากการตรวจด้วย CT scan แต่ก็ถือว่าในปริมาณที่น้อยมาก และการตรวจด้วยวิธี CT scan ก็ยังมีความจำเป็นสำหรับผู้ป่วย VHL เป็นอย่างมาก ซึ่งถ้าจะเปรียบเทียบระหว่างประโยชน์ที่จะได้รับกับความเสี่ยงต่อรังสีที่จะได้รับแล้ว การทำ CT scan ถือว่ามีความจำเป็นและมีประโยชน์มากกว่าโทษอย่างเทียบกันไม่ได้ครับ ดังนั้นไม่ต้องกังวลใจไปครับ เข้าไปตรวจด้วยความรู้สึกสบายๆ ที่จริงแล้วควรจะดีใจด้วยซ้ำไปครับที่เราจะได้รับการวินิจฉัยแล้วว่าไอ้ที่เราปวดหัว มึนๆ หรืออะไรต่างๆเหล่านั้น มันเกิดจากอะไรกันแน่
ขอให้มีสุขภาพที่ดีและมีความสุขกันทุกคนครับ สวัสดีครับ...
แต่ในบางกรณีจะเห็นว่าเราก็ได้รับการตรวจด้วย MRI หรือตรวจด้วยคลื่นรังสีแม่เหล็กเหมือนกัน อันนี้ผมไม่ทราบเหมือนกันว่ากรณีไหนต้องใช้วีธีอะไร เอาไว้คราวหน้าจะค้นคว้ามาเล่าให้ฟังครับ แต่เท่าที่มีประสบการณ์มา การตรวจด้วย CT scan จะมีราคาถูกว่าการตรวจด้วย MRI มากกว่าครึ่งครับ แต่ผมคงไม่แนะนำว่าให้เราตรวจด้วยวีธีนั้นวิธีนี้ดีกว่าอย่างนั้นแน่ๆครับ อันนั้นเป็นเรื่องที่คุณหมอพิจารณาอยู่แล้ว เราไม่ทราบหรอกครับว่าเราควรจะได้รับการตรวจด้วยวิธีไหน ดังนั้นถ้าคุณหมอสั่งให้ไปตรวจอันไหนก็ต้องทำนะครับ สำหรับวันนี้ผมมีข้อมูลมาเล่าให้ฟังนิดหน่อยเกี่ยวกับการได้รับรังสีจากการตรวจด้วย CT ครับ
ที่เขียนเรื่องการได้รับรังสีจากการตรวจด้วย CT scan นี้ไม่ได้เขียนเพื่อจะให้ท่านกลัวการตรวจด้วยวิธีนี้นะครับ เพราะในความเป็นจริงแล้ว ผลของการได้รับรังสีจะมีอันตรายน้อยมากเมื่อเทียบกับประโยชน์ที่จะได้รับ คือเทียบกันไม่ได้ครับ การไม่ได้รับการตรวจด้วยวิธีนี้เสียอีกที่อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้หากเนื้องอกนั้นๆไม่ได้รับการวินิจฉัย แต่ที่เอามาเขียนก็เพื่อเป็นความรู้และคลายความกังวลของผู้ป่วยครับ สำหรับบางแห่งในอเมริกาหรืออาจจะประเทศอื่นๆบางประเทศ ได้มีการตรวจร่างกายทั้งตัวด้วยวิธี CT scan กันเป็นประจำทุกปีครับ ก็เป็นการตรวจสุขภาพประจำปีนั่นแหละครับ เพียงแต่ว่าบางที่อาจจะใช้วีธีนี้เป็นวิธีการหลักด้วย ซึ่งในบ้านเราเท่าที่ทราบยังไม่เห็นมีทำกันขนาดนั้นนะครับ การตรวจสุขภาพประจำปีในส่วนของผมที่ผ่านมาก็มีการตรวจทั่วๆไป ไม่ถึงกับต้องทำเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์อะไรครับ แต่ก็มีการทำเอ็กซเรย์ทรวงอกเพื่อดูสภาพปอดทุกๆ 2 ปีครับ หรือถ้าอายุ 35 ปีขึ้นไปก็อาจจะต้องตรวจอัลตราซาวด์ช่องท้องร่วมด้วย
โดยสรุปก็คือว่าร่างกายเรามีโอกาสได้รับผลกระทบจากรังสีเนื่องจากการตรวจด้วย CT scan แต่ก็ถือว่าในปริมาณที่น้อยมาก และการตรวจด้วยวิธี CT scan ก็ยังมีความจำเป็นสำหรับผู้ป่วย VHL เป็นอย่างมาก ซึ่งถ้าจะเปรียบเทียบระหว่างประโยชน์ที่จะได้รับกับความเสี่ยงต่อรังสีที่จะได้รับแล้ว การทำ CT scan ถือว่ามีความจำเป็นและมีประโยชน์มากกว่าโทษอย่างเทียบกันไม่ได้ครับ ดังนั้นไม่ต้องกังวลใจไปครับ เข้าไปตรวจด้วยความรู้สึกสบายๆ ที่จริงแล้วควรจะดีใจด้วยซ้ำไปครับที่เราจะได้รับการวินิจฉัยแล้วว่าไอ้ที่เราปวดหัว มึนๆ หรืออะไรต่างๆเหล่านั้น มันเกิดจากอะไรกันแน่
ขอให้มีสุขภาพที่ดีและมีความสุขกันทุกคนครับ สวัสดีครับ...
วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2554
การประชุมนานาชาติเรื่องโรค VHL... ความหวังในการค้นพบยารักษา!!!
ที่อเมริกามีการรวมตัวของกลุ่มบุคคล-ครอบครัวที่เป็นหรือเกี่ยวข้องกับโรคนี้ครับ ชื่อว่า VHL Family Alliance ครับ ซึ่งจะทำการสนับสนุนการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับโรคนี้ ร่วมปรึกษาหารือระหว่างครอบครัวและผู้ป่วย และอีกมากมายครับ จุดประสงค์หลักก็คือการรวมตัวกันเพื่อหาแนวทางการรักษาโรค (โดยร่วมมือกับสถาบันทางการแพทย์ องค์กรทางวิทยาศาสตร์และอื่นๆอีกมากมาย) และเป็นศูนย์รวมของทุกเรื่องเกี่ยวกับโรคนี้ในประเทศของเขา และที่จริงก็ร่วมมือกับสถาบันหรือกลุ่มต่างๆที่เกี่ยวข้องทั่วโลกครับ เช่นที่ยุโรปในหลายๆประเทศ ญี่ปุ่น แอฟริกาใต้... เยอะแยะครับ
ชมรมนี้จะจัดการประชุมนานาชาติเป็นประจำทุกปี ปีละ 1-2 ครั้งครับ โดยหมุนเวียนสถานที่จัดไปเรื่อยๆในแต่ละประเทศ สำหรับของปีหน้าจะจัดขึ้นในวันที่ 26-29 ม.ค. ที่เมืองฮุสตันรัฐเท็กซัสอเมริกาครับ ปีนี้จัดไปแล้วที่เท็กซัสเหมือนกัน สำหรับผลการวิจัยที่มีการนำมาเผยแพร่ผมจะจัดการนำมาลงให้อ่านกันในโอกาสต่อๆไปนะครับ
สำหรับเรื่องที่เขียนในวันนี้ก็ถือว่าเป็นข่าวดีต่อผู้ป่วยและญาติทุกคนครับ เพราะนั่นก็หมายความว่ามีผู้ที่กำลังพยายามค้นคว้าวิจัยหาแนวทางในการรักษาโรคนี้อยู่อย่างต่อเนื่องและไม่ลดละ เราจะเห็นว่ามีผู้ป่วยโรคนี้อีกมากในที่อื่นๆในโลกนี้ เราไม่ได้เป็นอยู่คนเดียวครับ ถึงแม้วันนี้จะยังไม่มีทางรักษาแต่ในวันหน้ามีแน่นอนครับ แล้วพบกันใหม่ครับ ขอให้สนุกกับวันนี้ครับ สวัสดีครับ...
ชมรมนี้จะจัดการประชุมนานาชาติเป็นประจำทุกปี ปีละ 1-2 ครั้งครับ โดยหมุนเวียนสถานที่จัดไปเรื่อยๆในแต่ละประเทศ สำหรับของปีหน้าจะจัดขึ้นในวันที่ 26-29 ม.ค. ที่เมืองฮุสตันรัฐเท็กซัสอเมริกาครับ ปีนี้จัดไปแล้วที่เท็กซัสเหมือนกัน สำหรับผลการวิจัยที่มีการนำมาเผยแพร่ผมจะจัดการนำมาลงให้อ่านกันในโอกาสต่อๆไปนะครับ
สำหรับเรื่องที่เขียนในวันนี้ก็ถือว่าเป็นข่าวดีต่อผู้ป่วยและญาติทุกคนครับ เพราะนั่นก็หมายความว่ามีผู้ที่กำลังพยายามค้นคว้าวิจัยหาแนวทางในการรักษาโรคนี้อยู่อย่างต่อเนื่องและไม่ลดละ เราจะเห็นว่ามีผู้ป่วยโรคนี้อีกมากในที่อื่นๆในโลกนี้ เราไม่ได้เป็นอยู่คนเดียวครับ ถึงแม้วันนี้จะยังไม่มีทางรักษาแต่ในวันหน้ามีแน่นอนครับ แล้วพบกันใหม่ครับ ขอให้สนุกกับวันนี้ครับ สวัสดีครับ...
วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554
เนื้องอกต่อมหมวกไต (pheochromocytoma หรือ pheo-ฟีโอ)
ต่อมหมวกไตเป็นอวัยวะขนาดเล็กประมาณ 3x2x2 เซนติเมตรครับ หรือยาวประมาณ 1 นิ้วครับ ก็ขนาดเล็กๆ ใหญ่กว่าหัวแม่มือนิดหน่อย อยู่เหนือไตทั้งสองข้างครับ ทำงานผลิตฮอร์โมนหลายชนิด ที่เรารู้จักกันดีก็ฮอร์โมน "อะดรีนาลีน" ครับ ซึ่งหน้าที่หลักของต่อมหมวกไตคือควบคุมการไหลเวียนของโลหิตและการหดตัวของเลือด นอกจากนี้ยังมีหน้าที่เพิ่มระดับน้ำตาลและกรดไขมันในเลือด เพิ่มอัตราเมตาบอลิซึม เพิ่มการเต้นของหัวใจ เพิ่มการบีบตัวของเส้นเลือด อีกด้วย
ทีนี้มาพูดถึงเนื้องอกที่เกิดขึ้นที่ต่อมหมวกไตกันครับ ซึ่งตัวผมเองก็มีเนื้องอกชนิดนี้เกิดขึ้นที่ต่อมหมวกไตขวาและได้รับการผ่าตัดเอาออกไปแล้ว ตอนนี้ก็เหลือต่อมหมวกไตซ้ายอยู่ข้างเดียวครับ แต่ถึงแม้จะเหลือเพียงข้างเดียวก็ยังไม่ต้องกินฮอร์โมนอะไรเพิ่มเติม เพราะข้างที่เหลืออยู่ก็ทำหน้าที่ได้ปกติดี สำหรับเนื้องอกต่อมหมวกไตที่เกิดจากโรค VHL นั้นมีชื่อเรียกเฉพาะว่า Pheochromocytoma หรือเรียกสั้นๆว่า Pheo หรือฟีโอ ครับ เจ้าเนื้องอกชนิดนี้โอกาสของการเกิดขึ้นในแต่ละครอบครัวมีไม่เท่ากัน นอกจากนั้นโอกาสที่จะพบว่าเจ้าฟีโอนี้จะเป็นเนื้อร้ายก็มีน้อยลงไปอีก คือเพียง 3 เปอร์เซนต์เท่านั้นเอง ดังนั้นทุกท่านไม่ควรจะวิตกจนเกินไปนะครับ แต่ก็ไม่ควรประมาทอยู่ดี เจ้าฟีโอนี้ก็เหมือนกับเนื้องอกที่เกิดขึ้นที่อื่นๆ คือถ้าพบเร็วก็จะไม่อันตรายมากนักและง่ายต่อการรักษาแต่ถ้าพบช้าเกินไปหรือปล่อยไว้เนิ่นนานไม่ทำการรักษาสักที ก็มีอันตรายถึงชีวิตได้เหมือนกันจากผลต่อหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนั้นยังมีความเสี่ยงต่อการมีความดันเลือดสูงในระหว่างการผ่าตัด การประสบอุบัติเหตุ หรือการคลอดบุตรได้
เราทราบแล้วว่าต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมนอะดรีนาลีน ซึ่งบางกรณีร่างกายจะใช้ในการสร้างพลังอย่างฉับพลันเช่นในกรณีฉุกเฉิน (ไฟไหม้) เป็นต้น ทำให้เราพร้อมที่จะผจญกับเหตุต่างๆเหล่านั้นเพื่อเอาตัวรอดได้ครับ เนื้องอกฟีโอที่ต่อมหมวกไตจะสร้างฮอร์โมนความดันที่มากเกินไปเข้าสู่กระแสเลือดครับ ดังนั้นอาการแรกๆของผู้ป่วยคือจะมีความดันเลือดสูงหรือขึ้นๆลงๆ ไม่คงที่เหมือนคนปกติ โดยเฉพาะการสร้างความดันสูงเฉียบพลัน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อหัวใจและหลอดเลือดได้ ทำให้เกิดหัวใจวายได้ อาการอื่นๆที่ผู้ป่วยควรสังเกตุตัวเองก็คือ ปวดหัว เหงื่อออกเย็นๆ หัวใจเต้นเร็วหรือไม่สม่ำเสมอ หรือการมีความรู้สึกไม่ปกติเช่นตื่นตระหนก กังวล รู้สึกกลัวเป็นต้น
สำหรับการตรวจเพื่อหาว่าเป็นเนื้องอกชนิดนี้หรือไม่แพทย์จะตรวจจากเลือดและปัสสาวะ แต่ถ้าจำเป็นก็อาจจะมีการตรวจด้วยวิธีเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ร่วมด้วย (เช่น CT scan, MRI, MIBG, PET) อย่างในกรณีของผมซึ่งนอกจาก CT scan แล้ว ยังได้รับการตรวจ MIBG เพิ่มเติมอีกครับ ซึ่งจะทำให้ทราบตำแหน่งของเนื้องอกนี้ว่าเกิดขึ้นที่ต่อมหมวกไตหรือที่อื่นๆของร่างกายครับ (paragangliomas)
และเมื่อทราบว่าเป็นแล้ว การรักษาก็ทำได้โดยการตัดออกไปบางส่วนเฉพาะบริเวณที่เป็นเนื้องอกหรือตัดต่อมหมวกไตออกทั้งหมดครับ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะการเกิดและขนาดครับ
ข้อแนะนำเวลาจะไปเข้ารับการตรวจหาฟีโอคือ ควรงดสูบบุหรี่ งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ งดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน (ชา กาแฟ เป็นต้น) เป็นเวลาอย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการตรวจนะครับ เพื่อให้ได้ผลการวินิจฉัยที่ถูกต้องนะครับ นอกจากนี้ถ้าท่านรับประทานยาลดความซึมเศร้า หรือยาอื่นใดอยู่ด้วยก็ควรแจ้งให้แพทย์ทราบนะครับ
ก่อนจากกันวันนี้ผมมีรูปน่ารักๆที่ลูกสาววาดขึ้นมาจากไอศกรีมที่ไปทานกันครับ เราไปทานอาหารกันที่ฟาร์มโชคชัยในวันหยุดวันแม่ที่ผ่านมาครับ ผมเห็นว่าน่ารักดีและยังช่วยเตือนให้เรามีอารมณ์กุ๊กกิ๊กไม่เครียดด้วยครับ
สุดท้ายนี้ก็ขอให้ทุกท่านมีความสุข อยู่อย่างไม่เครียด มีอะไรเข้ามาในชีวิตก็ลุยไปกับมันเลยนะครับ สวัสดีครับ...
เราทราบแล้วว่าต่อมหมวกไตสร้างฮอร์โมนอะดรีนาลีน ซึ่งบางกรณีร่างกายจะใช้ในการสร้างพลังอย่างฉับพลันเช่นในกรณีฉุกเฉิน (ไฟไหม้) เป็นต้น ทำให้เราพร้อมที่จะผจญกับเหตุต่างๆเหล่านั้นเพื่อเอาตัวรอดได้ครับ เนื้องอกฟีโอที่ต่อมหมวกไตจะสร้างฮอร์โมนความดันที่มากเกินไปเข้าสู่กระแสเลือดครับ ดังนั้นอาการแรกๆของผู้ป่วยคือจะมีความดันเลือดสูงหรือขึ้นๆลงๆ ไม่คงที่เหมือนคนปกติ โดยเฉพาะการสร้างความดันสูงเฉียบพลัน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อหัวใจและหลอดเลือดได้ ทำให้เกิดหัวใจวายได้ อาการอื่นๆที่ผู้ป่วยควรสังเกตุตัวเองก็คือ ปวดหัว เหงื่อออกเย็นๆ หัวใจเต้นเร็วหรือไม่สม่ำเสมอ หรือการมีความรู้สึกไม่ปกติเช่นตื่นตระหนก กังวล รู้สึกกลัวเป็นต้น
สำหรับการตรวจเพื่อหาว่าเป็นเนื้องอกชนิดนี้หรือไม่แพทย์จะตรวจจากเลือดและปัสสาวะ แต่ถ้าจำเป็นก็อาจจะมีการตรวจด้วยวิธีเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ร่วมด้วย (เช่น CT scan, MRI, MIBG, PET) อย่างในกรณีของผมซึ่งนอกจาก CT scan แล้ว ยังได้รับการตรวจ MIBG เพิ่มเติมอีกครับ ซึ่งจะทำให้ทราบตำแหน่งของเนื้องอกนี้ว่าเกิดขึ้นที่ต่อมหมวกไตหรือที่อื่นๆของร่างกายครับ (paragangliomas)
และเมื่อทราบว่าเป็นแล้ว การรักษาก็ทำได้โดยการตัดออกไปบางส่วนเฉพาะบริเวณที่เป็นเนื้องอกหรือตัดต่อมหมวกไตออกทั้งหมดครับ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะการเกิดและขนาดครับ
ข้อแนะนำเวลาจะไปเข้ารับการตรวจหาฟีโอคือ ควรงดสูบบุหรี่ งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ งดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน (ชา กาแฟ เป็นต้น) เป็นเวลาอย่างน้อย 4 ชั่วโมงก่อนเข้ารับการตรวจนะครับ เพื่อให้ได้ผลการวินิจฉัยที่ถูกต้องนะครับ นอกจากนี้ถ้าท่านรับประทานยาลดความซึมเศร้า หรือยาอื่นใดอยู่ด้วยก็ควรแจ้งให้แพทย์ทราบนะครับ
ก่อนจากกันวันนี้ผมมีรูปน่ารักๆที่ลูกสาววาดขึ้นมาจากไอศกรีมที่ไปทานกันครับ เราไปทานอาหารกันที่ฟาร์มโชคชัยในวันหยุดวันแม่ที่ผ่านมาครับ ผมเห็นว่าน่ารักดีและยังช่วยเตือนให้เรามีอารมณ์กุ๊กกิ๊กไม่เครียดด้วยครับ
สุดท้ายนี้ก็ขอให้ทุกท่านมีความสุข อยู่อย่างไม่เครียด มีอะไรเข้ามาในชีวิตก็ลุยไปกับมันเลยนะครับ สวัสดีครับ...
วันพฤหัสบดีที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2554
กลอนวันแม่
เป็ดไก่นี้ดีนักลูกรักแม่ ขุนก็แน่ยาทก็เจ๋งโจ้ก็แจ๋ว
ใครเทียมเทพเล็กลูกรักยอดเด็กแนว ลูกแม่แอ๊วล้วนกำพร้ามานานนม
อีกสมควรชายน้อยและเจ้าหมู ใครอุ้มชูดูมาแต่ฝาหอย
มนัสยาอีกเล่าที่เฝ้าคอย ตั้งแต่น้อยได้พึ่งพิงแม่อิ้งมา
ส่วนศรีพรรณกับยุพาลัยก็ใช่ย่อย ลูกแม่ไรสู้ไม่ถอยคอยสรรหา
ทั้งน้ำพริกสารพัดจัดหามา ไม่รอช้าให้เสือธรรมได้หม่ำเอย
วันพุธที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2554
เนื้องอกในสมอง และกระดูกสันหลัง (Brain and spinal hemangioblastomas)
สวัสดีครับ วันนี้เอาเรื่องเนื้องอกในสมองและกระดูกสันหลังมาเล่าให้ฟังกันครับ เนื่องจากว่าพอดีพี่สาว(ลูกคนที่สามของแม่เดียวกัน) กำลังมีอาการปวดหัวแปลกๆ เป็นเวลาหลายวันมาแล้ว รวมวันนี้ก็น่าจะประมาณหนึ่งเดือนพอดี ซึ่งจากอาการและระยะเวลาที่ปวดก็น่ากังวลว่าอาจจะมีเนื้องอกขึ้นในสมองอีกก็เป็นได้ แต่จะเป็นหรือไม่คงเป็นหน้าที่ของคุณหมอที่จะวินิจฉัยครับ ซึ่งคุณหมอก็นัดทำเอ็กซเรย์สมองไว้แล้วครับ อีกไม่นานคงจะได้รู้ผลกันครับ ว่าจะโชคดีหรือโชคไม่ค่อยดี...
สำหรับอาการที่เกิดจากเนื้องอกในสมอง (ส่วนหลัง หรือ ก้านสมอง) และกระดูกสันหลังนั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเนื้องอก ขนาดของมัน แล้วก็ยังขึ้นอยู่กับการบวมหรือซีสต์ที่เกิดร่วมด้วยครับ เค้าบอกว่าปกติแล้วซีสต์จะส่งผลให้เกิดอาการต่างๆมากกว่าเนื้องอกครับ และเมื่อเนื้องอกได้รับการผ่าตัดเอาออกแล้ว เจ้าซีสต์นี้ก็จะฝ่อไปเอง แต่ถ้ายังมีส่วนของเนื้องอกหลงเหลืออยู่ เจ้าซีสต์นี้ก็จะโตขึ้นมาอีกได้
เนื้องอกที่มีขนาดเล็กกว่า 3 เซนติเมตร ซึ่งไม่ได้เกิดร่วมกับซีสต์ด้วย บางครั้งก็จะรักษาโดยการฉายรังสี ซึ่งการรักษาโดยวิธีนี้ยังคงมีการศึกษาอย่างต่อเนื่องถึงผลกระทบระยะยาวของมันครับ เขียนมาถึงตรงนี้ผมก็ต้องขอออกตัวก่อนว่าที่เขียนมาทั้งหมดนี้เป็นการแปลจากเอกสารภาษาอังกฤษจากแหล่งที่น่าเชื่อถือได้ แต่การแปลอาจจะไม่ถูกต้องร้อยเปอร์เซนต์ถึงขนาดที่จะเอาไปอ้างอิงได้นะครับ เป็นเพียงความพยายามของผมที่จะถ่ายทอดข้อมูลที่ได้รับมาให้กับญาติพี่น้อง ผู้ป่วยอื่นๆ ญาติ หรือท่านใดก็ตามที่ได้เข้ามาอ่านซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์ต่อท่านบ้าง ถ้าจะให้เกิดความมั่นใจแน่นอนในกรณีที่ท่านต้องได้รับการรักษา ผมแนะนำให้ไปพบและปรึกษาแพทย์เท่านั้นครับ อย่าตัดสินใจเอาเองโดยคิดว่าเข้าใจจากข้อความเหล่านี้เอาเองนะครับ เพราะนั่นอาจจะไม่เพียงพอต่อการดูแลสุขภาพของท่านครับ
สำหรับผมเองผ่าตัดสมองครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2548 ครับ ผ่านมาแล้ว 6 ปี ตอนนี้สบายดีครับ และพยายามออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอครับ หวังว่าคงจะไม่ต้องเข้ารับการผ่าตัดอีกแล้ว สุดท้ายนี้ก็ขอให้ทุกคนแข็งแรงทั้งกายและใจครับ สวัสดีครับ...
สำหรับอาการที่เกิดจากเนื้องอกในสมอง (ส่วนหลัง หรือ ก้านสมอง) และกระดูกสันหลังนั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่งของเนื้องอก ขนาดของมัน แล้วก็ยังขึ้นอยู่กับการบวมหรือซีสต์ที่เกิดร่วมด้วยครับ เค้าบอกว่าปกติแล้วซีสต์จะส่งผลให้เกิดอาการต่างๆมากกว่าเนื้องอกครับ และเมื่อเนื้องอกได้รับการผ่าตัดเอาออกแล้ว เจ้าซีสต์นี้ก็จะฝ่อไปเอง แต่ถ้ายังมีส่วนของเนื้องอกหลงเหลืออยู่ เจ้าซีสต์นี้ก็จะโตขึ้นมาอีกได้
เนื้องอกที่มีขนาดเล็กกว่า 3 เซนติเมตร ซึ่งไม่ได้เกิดร่วมกับซีสต์ด้วย บางครั้งก็จะรักษาโดยการฉายรังสี ซึ่งการรักษาโดยวิธีนี้ยังคงมีการศึกษาอย่างต่อเนื่องถึงผลกระทบระยะยาวของมันครับ เขียนมาถึงตรงนี้ผมก็ต้องขอออกตัวก่อนว่าที่เขียนมาทั้งหมดนี้เป็นการแปลจากเอกสารภาษาอังกฤษจากแหล่งที่น่าเชื่อถือได้ แต่การแปลอาจจะไม่ถูกต้องร้อยเปอร์เซนต์ถึงขนาดที่จะเอาไปอ้างอิงได้นะครับ เป็นเพียงความพยายามของผมที่จะถ่ายทอดข้อมูลที่ได้รับมาให้กับญาติพี่น้อง ผู้ป่วยอื่นๆ ญาติ หรือท่านใดก็ตามที่ได้เข้ามาอ่านซึ่งอาจจะเป็นประโยชน์ต่อท่านบ้าง ถ้าจะให้เกิดความมั่นใจแน่นอนในกรณีที่ท่านต้องได้รับการรักษา ผมแนะนำให้ไปพบและปรึกษาแพทย์เท่านั้นครับ อย่าตัดสินใจเอาเองโดยคิดว่าเข้าใจจากข้อความเหล่านี้เอาเองนะครับ เพราะนั่นอาจจะไม่เพียงพอต่อการดูแลสุขภาพของท่านครับ
สำหรับผมเองผ่าตัดสมองครั้งสุดท้ายเมื่อปี 2548 ครับ ผ่านมาแล้ว 6 ปี ตอนนี้สบายดีครับ และพยายามออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอครับ หวังว่าคงจะไม่ต้องเข้ารับการผ่าตัดอีกแล้ว สุดท้ายนี้ก็ขอให้ทุกคนแข็งแรงทั้งกายและใจครับ สวัสดีครับ...
วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554
เป็น VHL รักษาไม่หาย... แต่...
สวัสดีครับ ไม่เจอกันหลายวัน วันนี้มีเรื่องเบาๆมาคุยกันครับ เรื่องเบาๆ แต่ว่าสำคัญกับทุกคนเลยนะครับ ก็คือว่า เหมือนที่เขียนเป็นชื่อเรื่องไว้นั่นแหละครับ คือ เป็นโรคนี้แล้ว ตอนนี้ยังรักษาไม่หาย คือยังไม่มียารักษาให้หายขาดครับ แต่ว่าเราก็มีวิธีรับมือกับมันครับ
เค้าบอกว่าวิธีที่ดีที่สุดในการรับมือกับโรคนี้คือการที่เราต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยเร็ว มีการติดตามและรักษาอย่างเหมาะสมกับสถานะการณ์ โดยให้ร่างกายมีการบอบช้ำน้อยที่สุด และคำนึงถึงสุขภาพโดยรวมในระยะยาว พูดง่ายๆก็คือถึงแม้ว่าจะยังไม่มียารักษาให้หายขาดได้แต่ก็มีแนวทางปฏิบัติที่จะทำให้เราอยู่กับมันได้อย่างมีความสุข (ตามสมควร) นั่นก็คือเราต้องได้รับการตรวจที่ทันเวลา ไม่ช้าจนเกินไปจนอาการของโรค (เนื้องอก หรือ ซีสต์) เป็นมากจนเกินไป ซึ่งจะทำให้การรักษายากลำบากขึ้น และอาจเป็นอันตรายได้ อย่างเช่นในกรณีของผมที่ตอนผ่าสมองครั้งแรกนั้นกว่าจะรู้ว่าเป็นอะไรก็เกือบสายเกินไป เมื่อเนื้องอกได้โตมากจนไปเบียดเนื้อสมองจนเป็นแผล และไปขัดขวางทางเดินของน้ำไขสันหลังในสมอง จนทำให้เกิดน้ำคลั่งในสมอง สมองบวม และปวดหัวจนแทบจะทนไม่ได้ ซึ่งถ้าไม่ได้รับการผ่าตัดทันเวลาก็จะเสียชีวิตได้ เป็นต้นครับ
นอกจากนี้การติดตามอาการหลังการผ่าตัด หรือการติดตามขนาดของเนื้องอกในอวัยวะต่างๆ อย่างใกล้ชิดก็สำคัญมากเช่นกัน หรือถึงแม้จะได้รับการผ่าตัดเอาออกแล้วก็ตาม เพราะว่าเนื้องอกหรือซีสต์จากโรคนี้มันสามารถเกิดขึ้นมาได้อีกหลายต่อหลายครั้งนั่นเอง จะเห็นว่ามันไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลยที่จะรับมือกับมันแต่ก็ไม่ยากเกินไปใช่ไหมครับ ถึงอย่างไรมันก็เป็นส่วนหนึ่งของร่างกายเราอยู่แล้ว หาวิธีรับมือที่จะอยู่กับมันให้ได้นะครับ นอกจากการตรวจและติดตามผลโดยแพทย์แล้ว ตัวเราเองก็มีหน้าที่ที่สำคัญเช่นกันคือต้องดูแลร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ และจัดการกับความเครียดให้ได้ ต้องไม่เครียดมากจนเกินไปนะครับ เพราะความเครียดนั้นส่งผลไม่ดีโดยตรงต่อร่างกายนะครับ ส่วนผลต่อจิตใจก็คงทราบกันดีอยู่แล้วว่าเป็นอย่างไร
ขอให้ทำงานให้สนุกนะครับ สวัสดีครับ...
เค้าบอกว่าวิธีที่ดีที่สุดในการรับมือกับโรคนี้คือการที่เราต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยเร็ว มีการติดตามและรักษาอย่างเหมาะสมกับสถานะการณ์ โดยให้ร่างกายมีการบอบช้ำน้อยที่สุด และคำนึงถึงสุขภาพโดยรวมในระยะยาว พูดง่ายๆก็คือถึงแม้ว่าจะยังไม่มียารักษาให้หายขาดได้แต่ก็มีแนวทางปฏิบัติที่จะทำให้เราอยู่กับมันได้อย่างมีความสุข (ตามสมควร) นั่นก็คือเราต้องได้รับการตรวจที่ทันเวลา ไม่ช้าจนเกินไปจนอาการของโรค (เนื้องอก หรือ ซีสต์) เป็นมากจนเกินไป ซึ่งจะทำให้การรักษายากลำบากขึ้น และอาจเป็นอันตรายได้ อย่างเช่นในกรณีของผมที่ตอนผ่าสมองครั้งแรกนั้นกว่าจะรู้ว่าเป็นอะไรก็เกือบสายเกินไป เมื่อเนื้องอกได้โตมากจนไปเบียดเนื้อสมองจนเป็นแผล และไปขัดขวางทางเดินของน้ำไขสันหลังในสมอง จนทำให้เกิดน้ำคลั่งในสมอง สมองบวม และปวดหัวจนแทบจะทนไม่ได้ ซึ่งถ้าไม่ได้รับการผ่าตัดทันเวลาก็จะเสียชีวิตได้ เป็นต้นครับ
นอกจากนี้การติดตามอาการหลังการผ่าตัด หรือการติดตามขนาดของเนื้องอกในอวัยวะต่างๆ อย่างใกล้ชิดก็สำคัญมากเช่นกัน หรือถึงแม้จะได้รับการผ่าตัดเอาออกแล้วก็ตาม เพราะว่าเนื้องอกหรือซีสต์จากโรคนี้มันสามารถเกิดขึ้นมาได้อีกหลายต่อหลายครั้งนั่นเอง จะเห็นว่ามันไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลยที่จะรับมือกับมันแต่ก็ไม่ยากเกินไปใช่ไหมครับ ถึงอย่างไรมันก็เป็นส่วนหนึ่งของร่างกายเราอยู่แล้ว หาวิธีรับมือที่จะอยู่กับมันให้ได้นะครับ นอกจากการตรวจและติดตามผลโดยแพทย์แล้ว ตัวเราเองก็มีหน้าที่ที่สำคัญเช่นกันคือต้องดูแลร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ และจัดการกับความเครียดให้ได้ ต้องไม่เครียดมากจนเกินไปนะครับ เพราะความเครียดนั้นส่งผลไม่ดีโดยตรงต่อร่างกายนะครับ ส่วนผลต่อจิตใจก็คงทราบกันดีอยู่แล้วว่าเป็นอย่างไร
ขอให้ทำงานให้สนุกนะครับ สวัสดีครับ...
วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554
เครียดมั้ย?
สวัสดีครับ พบกันอีกครั้งในวันหยุดสุดสัปดาห์ครับ วันนี้วันเสาร์ อากาศที่รังสิตนี่สบายมากครับ อากาศยามเช้า เย็นสบาย และมีลมพัดมาตลอด เสียงกิ่งไม้เสียดสีกวัดแกว่งไปตามแรงลมดังมาเป็นระยะๆ บรรยากาศเหมาะกับการอยู่บ้านพักผ่อนจริงๆครับ หวังว่าทุกท่านคงมีความสุขในวันนี้ และกับทุกๆวันด้วยนะครับ
ที่จริงความสุขสามารถสร้างขึ้นได้ง่ายๆ จากความรู้ตัวและการอยู่กับปัจจุบันครับ คำพระท่านว่าอดีตก็ผ่านไปแล้ว อนาคตก็ยังมาไม่ถึง ปัจจุบันคือสิ่งที่มีค่ามากที่สุด ถ้าเราไม่ไปกังวลกับอดีตหรือนึกถึงอนาคตมากเกินไป เราก็สามารถมีความสุขกับปัจจุบันได้ทันทีครับ ง่ายมากใช่ไหมครับ...
หลักพุทธศาสนา หรือศาสนาอะไรก็ตาม ต่างก็คล้ายคลึงกันตรงที่สอนให้เรามีสติ รู้ทันกาย ใจ ไม่มัวไปกังวลกับเรื่องต่างๆมากเกินไปนะครับ วันนี้ผมอยากพูดคุยเรื่องเบาๆกัน แต่สำคัญมากๆ สำหรับผู้ป่วย จริงๆแล้วก็สำคัญกับทุกๆคนเลยทีเดียวครับ ฝรั่งเค้าเขียนไว้ในหนังสือว่า "อยู่อย่างรู้ทัน" เขียนไว้ดังนี้ครับว่า การที่เรารู้ตัวว่าเราเป็นโรคที่รักษาไม่หายเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดความเครียดมากให้กับเรา (ที่จริงแล้ว คนที่ไม่ได้เป็นโรคนี้ทุกคนต่างก็มีความเครียดเหมือนกัน ต่างกันตรงรายละเอียดเท่านั้นนะครับ) ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่สำหรับชีวิตความเป็นอยู่ของทั้งชีวิตเรานะครับ ดังนั้นถ้าอยากจะมีชีวิตที่มีความสุข เราต้องจัดการรับมือกับเจ้าความเครียดนี้ให้ได้ วิธีการก็มีหลายอย่าง เช่นเราอาจจะหากิจกรรมทำ โดยการออกกำลังกาย ฝึกโยคะ สวดมนต์ หรือนั้งสมาธิ เป็นต้น ทำอันไหนก็ดีทั้งหมดแหละครับ ขอให้เราลงมือทำก็แล้วกัน อย่ามัวแต่นึกนะครับ เวลานั้นผ่านไปอย่างรวดเร็วและไม่เคยคอยใครเลยครับ นอกจากกิจกรรมต่างๆ แล้ว เรายังต้องเรียนรู้ที่จะไม่เก็บเอาความเครียด ความรู้สึกโกรธ น้อยใจ เสียใจที่ตัวเองไม่สบาย นี้ไว้กับตัวคนเดียวนะครับ เราควรที่จะพูดคุยอย่างเปิดเผยไม่ว่าจะกับคุณหมอ กับพ่อแม่พี่น้อง สามี ภรรยา ลูกหลานเป็นต้น คุยให้หมดครับ เราจะได้สบายใจ และที่สำคัญ เราทุกคนล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องกันครับ การที่เราไม่สบายย่อมส่งผลกับผู้คนรอบข้างอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง อย่าเก็บเอาไว้คนเดียวครับ การเป็นโรคนี้ (หรือโรคอื่นๆ ก็ตาม) มันไม่ใช่เป็นความผิดครับ แต่มันคือโรค! มันคือโรคครับ เพราะฉะนั้นอย่าอายที่จะพูดคุยกับคนอื่น เราไม่ได้ไปทำความผิดอะไรที่ไหนมานี่ครับ
สำคัญที่สุด เราควรที่จะเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนวิกฤติหรือความกดดันเหล่านั้นให้เป็นพลังครับ ใช้อุปสรรคเหล่านั้นเปลี่ยนให้เป็นแรงผลักดันให้ชีวิตเราก้าวต่อไป...ยังมีเวลาอีกมากมายพอให้เราได้แสดงฝีมือ เรายังต้องก้าวไปข้างหน้าอีกนานครับ ขอให้ทุกคนมีพลานามัยที่สมบูรณ์ มีสติปัญญาที่พร้อมอยู่ตลอดเวลา และมีความเพียรที่บริสุทธิ์ตลอดไปครับ สวัสดีครับ...
วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2554
ไปตรวจไตหลังผ่าตัดตามแพทย์นัดมาครับ
วันนี้หยุดงานไปตรวจตามแพทย์นัดที่ศิริราชครับ คนเยอะเหมือนเดิม หมอนัด 9 โมงครึ่ง ผมไปยื่นบัตรตอนก่อน 8 โมงเช้านิดหน่อย เจ้าหน้าที่บอกให้ไปวัดความดัน ทานข้าวแล้วกลับมานั่งรอเรียกชื่อซึ่งผมทานข้าวเช้ามาแล้ว ก็เลยไปวัดความดันเลย แล้วก็นั่งรอด้านนอกครับ เจ้าหน้าที่เรียกชื่อให้เข้าไปนั่งรอข้างในหน่วยตรวจตอนประมาณ 9 โมง 10 นาที ครับ ซึ่งตอนที่เรียกชื่อเราจะต้องเอากระดาษจดผลความดันที่วัดไปแล้วยื่นให้เจ้าหน้าที่ครับ เจ้าหน้าที่จะแจกสติกเกอร์เล็กๆ เขียนชื่อตัวย่อของแผนกที่จะไปตรวจเป็นภาษาอังกฤษให้ แล้วบอกให้ไปนั่งรอข้างในซึ่งตรงนั้นก็จะต้องรอเจ้าหน้าที่ส่วนนั้นเรียกชื่ออีกที ผมได้พบหมอตอน 10 โมง 45 นาทีพอดีครับ คุณหมอถามอาการว่าเป็นอย่างไรบ้าง พร้อมกับชมว่าดูสดใสขึ้นนะ แล้วก็ขอดูแผลที่หน้าท้อง ซึ่งก็ดูปกติดี จากนั้นไม่นานคุณหมอก็บอกว่านัดอีกที 6 เดือนนะ แต่ว่าคราวหน้าจะตรวจอัลตราซาวด์ด้วย คราวนี้ไม่ได้ตรวจอะไรเป็นพิเศษครับ รวมเวลาทั้งหมดหลังจากที่ทำใบนัดพบแพทย์ และใบนัดตรวจอัลตราซาวด์ด้วยก็เสร็จตอนประมาณ 11 โมงครึ่งครับ สบายๆ ครับ ไม่นานเกินไปนะครับ อยากจะแนะนำท่านที่ต้องไปตรวจที่โรงพยาบาลว่าควรไปยื่นบัตรแต่เช้าตามที่แจ้งไว้ในใบนัด เพราะมีผู้ป่วยจำนวนมากไปขอตรวจในแต่ละวัน ถ้าเรามาช้า ไม่ตรงตามนัด การตรวจวันนั้นของเราอาจจะเลยเวลาไปเยอะก็ได้ครับ จะหงุดหงิดกันเปล่าๆ
หลังจากเสร็จภารกิจกับคุณหมอเรียบร้อยผมก็ไปหาข้าวกลางวันทานที่ท่าวังหลังครับ อาหารเยอะมาก วันนี้นั่งริมน้ำ รับลมเย็นๆ โดยเฉพาะช่วงนี้ที่อากาศกำลังสบายๆ ครับ มีฝนตกปรอยๆ อยู่เป็นระยะเนื่องจากพายุนกเต็นเข้ามาครับ ทานข้าวเสร็จก็ซื้อขนมกลับบ้านมาฝากลูกๆ ครับ สบายกันไปอีกหนึ่งวัน... สวัสดีครับ
หลังจากเสร็จภารกิจกับคุณหมอเรียบร้อยผมก็ไปหาข้าวกลางวันทานที่ท่าวังหลังครับ อาหารเยอะมาก วันนี้นั่งริมน้ำ รับลมเย็นๆ โดยเฉพาะช่วงนี้ที่อากาศกำลังสบายๆ ครับ มีฝนตกปรอยๆ อยู่เป็นระยะเนื่องจากพายุนกเต็นเข้ามาครับ ทานข้าวเสร็จก็ซื้อขนมกลับบ้านมาฝากลูกๆ ครับ สบายกันไปอีกหนึ่งวัน... สวัสดีครับ
วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554
VHL ในตา รักษาแล้วก็ขึ้นมาอีก ตรวจกันจนเบื่อละครับ
วันนี้เอารูปมาลงแบบที่ดูแล้วอาจจะสงสัยว่าเกี่ยวอะไรกับโรค VHL เหรอ? ... ฮ่าๆ เกี่ยวโดยอ้อมครับ ที่จริงผมอยากเอาเรื่องอะไรอื่นๆที่ไม่ซีเรียสจนเกินไปมาลงบ้างครับ เผื่อท่านๆจะได้ไม่เครียดเวลาอ่านจนเกินไป รูปที่เอามาลงนี้คือที่ร้านก๋วยเตี๋ยวของพี่ชายกับพี่สะไภ้ของผมเองครับ ขายอยู่ที่ตลาดโต้รุ่งโพธิ์จันทร์ในตัวเมือง อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ครับ ผมไปชิมมาแล้ว เส้นเล็กต้มยำใส่ไข่ต้ม อร่อยมาก ชื่อร้านประมาณนี้...ก๋วยเตี๋ยวต้มยำไข่ต้มสิงโตโภชนา...ครับ รับประกันความอร่อย แซ่บถึงใจครับ ถึงแม้ว่าเชลล์จะยังไม่เคยไปชิมก็ตาม พี่ชายผมคนนี้เป็นโรค VHL เหมือนผมนี่แหละครับ ผ่าสมองมาแล้วหลายครั้งเหมือนกัน และก็ยังรักษาเนื้องอกในตาอีกหลายครั้งแล้วด้วย วันสองวันนี้ก็จะต้องไปหาหมอที่ศิริราชเพื่อตรวจตาอีกครั้งแล้วครับ รักษาแล้วมันก็เป็นขึ้นมาได้อีกครั้ง หรือหลายๆครั้งครับ ก็ต้องทนกันไป เราไม่มีเหตุผลที่จะท้อหรือยอมแพ้นี่ครับ
โรค VHL ที่เกิดขึ้นในตาจะมีลักษณะเป็นก้อนเนื้องอกซึ่งแรกเริ่มจะมีขนาดที่เล็กมากๆ ผู้ป่วยโรค VHL 60% จะพบว่ามีเนื้องอกขึ้นในตาด้วย ซึ่งสำหรับผู้ที่ตรวจพบว่ามียีน VHL ผิดปกตินี้ ควรได้รับการตรวจหาเนื้องอกในตาด้วยเริ่มตั้งแต่อายุ 1 ขวบกันเลยที่เดียว และไม่เท่านั้น ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจรักษาตลอดอายุขัยเลยด้วย เพราะว่ามันสามารถจะเกิดขึ้นมาได้อีกครั้งแล้วครั้งเล่า อย่างที่บอกไปแล้ว อย่าเพิ่งเหนื่อยกันล่ะครับ สำหรับข้อควรระวังอีกอย่างหนึ่งของเนื้องอกในตาก็คือ ถ้ามีของเหลวในตารั่วไหลออกมา อาจจะทำให้เป็นอุปสรรคต่อการมองเห็นได้นะครับ ดังนั้นจึงไม่ควรละเลยไม่เอาใจใส่ อย่าขี้เกียจไปหาหมอครับ ดวงตาของเราเองเอาไว้ดูโลกสีสวยๆกันนานๆนะครับ
สำหรับการรักษาปกติก็เห็นหมอจะยิงเลเซอร์ (laser) ครับ แต่จากตำราเห็นบอกว่ามีอีกวิธีหนึ่งเรียกว่า cryotherapy (freezing) จากคำในวงเล็บ ผมเดาว่าคงเป็นวิธีการที่ใช้ความเย็นจัดในกระบวนการรักษาครับ ไม่ทราบเหมือนกันว่าทำอย่างไร เอาเป็นว่าปรึกษาคุณหมอละกันครับ
สำหรับวันนี้เบาๆ เท่านี้ก่อนละกันครับ วันนี้ขอลาไปเตรียมตัวพักผ่อนเก็บแรงไว้ต่อสู้กับวันใหม่ต่อไปครับ ขอให้มีสุขภาพแข็งแรงกันทุกๆคนครับ ...สวัสดีครับ...
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)